วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)
            Klausmeier (1985:105) คลอสเมียร์ กล่าวไว้ว่า กระบวนการประมวลข้อมูลจะเริ่มต้นจากการที่มนุษย์ รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งบันทึก นี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ การรู้จัก และความเอาใจใส่ ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า ที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจสิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น(short-term memory)  ความจำจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่แสดงออกมา
            Eggen and Kuachak(1997:260)กล่าวไว้ว่า กระบานการทางสมองในการประมวลข้อมูลเปรียบเทียบได้กับคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมสั่งงาน การบริหารควบคุมการประมวลของสมองก็คือการที่บุคคลรู้ถึงการคิดของตนและสามารถควบคุมได้ลักษณะนี้เรียกว่า การรู้คิด องค์ประกอบสำคัญของการรู้คิดที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการประมวลข้อมูลประกอบด้วยแรงจูงใจ ความตั้งใจ และความมุ่งหวังต่างๆ
                      Garofalo and Lester(1985:163-176) กล่าวไว้ว่า  การตระหนักรู้จะนำไปสู่การคิดหากลวิธีต่างๆที่จะมาช่วยให้ตนจดจำในสิ่งที่เรียนได้ดี เช่น การท่องจำ การจดบันทึก และการใช้เทคนิคช่วยจำอื่นๆ เช่นการจำตัวย่อ การทำรหัส การเชื่อมโยงในสิ่งที่สัมพันธ์กัน ความรู้ในเชิงเมตาคอดนิชันมักจะประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับบุคคลงาน และกลวิธี

สรุป
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล คือ สมองของมนุษย์ก็เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์เมื่อได้รับข้อมูลก็จะประมวลผลของข้อมูลแล้วแสดงออกมาทางพฤติกรรม คำพูด สีน่า อาณ์รมเป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
ณัชชากัญญ์.ทฤษฎีการเรียนรู้ http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 . (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17/06/11)
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทฤษฎีการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554.จาก http://guru.muslimthai.com/main/index.php?page=sub&category=31&id=17731

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น