วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สื่อการสอน และประเภทของสื่อ

สื่อการสอน คืออะไร แบ่งเป็นกี่ประเภท


สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
ประเภทของสื่อการสอน
            การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ
ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523: 112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น
- แผนภูมิ (Charts)
- แผนภาพ (Diagrams)
- ภาพถ่าย (Poster)
- โปสเตอร์ (Drawing)
- ภาพเขียน (Drawing)
- ภาพโปร่งใส (Transparencies)
- ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
- แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
- เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
- เครื่องฉายสไลด์ (Slide Projectors)
- เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
- เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
- เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
- เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
- บทบาทสมมุติ (Role Playing)
- สถานการณ์จำลอง (Simulation)
- การสาธิต (Demonstration)
- การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
- การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
- กระบะทราย (Sand Trays)
           การจำแนกสื่อการสอนตามแบบ (Form)
ชอร์ส (Shorse. 1960 : 11) ได้จำแนกสื่อการสอนตามแบบเป็นหมวดหมู่ดังนี้
1. สิ่งพิมพ์ (Printed Materials)
- หนังสือแบบเรียน (Text Books)
- หนังสืออุเทศก์ (Reference Books)
- หนังสืออ่านประกอบ (Reading Books)
- นิตยสารหรือวารสาร (Serials)
2. วัสดุกราฟิก (Graphic Materials)
- แผนภูมิ (Chats)
- แผนสถิติ (Graph)
- แผนภาพ (Diagrams)
- โปสเตอร์ (Poster)
- การ์ตูน (Cartoons)
3. วัสดุและเครื่องฉาย (Projector materials and Equipment)
- เครื่องฉายภาพนิ่ง (Still Picture Projector)
- เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture Projector)
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
- ฟิล์มสไลด์ (Slides)
- ฟิล์มภาพยนตร์ (Films)
- แผ่นโปร่งใส (Transparancies)
4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission)
- เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Disc Recording)
- เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder)
- เครื่องรับวิทยุ (Radio Receiver)
- เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
          การจำแนกสื่อการสอนตามประสบการณ์
เอดการ์ เดล (Edgar Dale. 1969 : 107) เชื่อว่าประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมจะทำให้เกิดการเรียนรู้แตกต่างกับ
ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม ดังนั้นจึงจำแนกสื่อการสอนโดยยึดประสบการณ์เป็นหลักเรียงตามลำดับจากประสบการณ์ที่ง่ายไปยาก 10 ขั้น เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)
ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรง (Direct Experiences) มีความหมายเป็นรูปธรรมมากที่สุดทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เช่น เล่นกีฬา ทำอาหาร ปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ประสบการณ์รอง (Verbal Symbols) เป็นกรณีที่ประสบการณ์หรือของจริงมีข้อจำกัด จำเป็นต้องจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาศึกษาแทน เช่น หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง การแสดงเหตุการณ์จำลองทางดาราศาสตร์
ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramaticed Experiences) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์ตรงหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในอดีตหรืออาจเป็นความคิด ความฝัน สามารถเรียนด้วยประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์จำลองได้ เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ เป็นต้น
ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) เป็นการอธิบายข้อเท็จจริงลำดับความคิดหรือกระบวนการเหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการความเข้าใจ ความชำนาญหรือทักษะ เช่น การสาธิตการผายปอดการสาธิตการเล่นของครูพละ เป็นต้น
ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips) เป็นการพาผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ประสบการณ์นี้มีความเป็นนามธรรมมากกว่าการสาธิต เพราะผู้เรียนแทบไม่ได้มีส่วนในกิจกรรมที่ได้พบเห็นนั้นเลย
ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibits) เป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้รับด้วยการดูเป็นส่วนใหญ่ อาจจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ เช่น ของจริง หุ่นจำลอง วัสดุสาธิต แผนภูมิ ภาพยนตร์ เป็นต้น
ขั้นที่ 7 โทรทัศน์และภาพยนตร์ (Television and Motion Picture) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากกว่าการจัดนิทรรศการ เพราะผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยการดูภาพและฟังเสียงเท่านั้น
ขั้นที่ 8 ภาพนิ่ง วิทยุและการบันทึกเสียง (Still Picture) เป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ทางใดทางหนึ่งระหว่างการฟังและการพูด ซึ่งนับเป็นนามธรรมมากขึ้น
ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด บรรยาย การปราศรัย คำโฆษณา ฯลฯ ดังนั้นผู้เรียนควรมีพื้นฐานเช่นเดียวกับทัศนสัญลักษณ์นั้น ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างดี
ขั้นที่ 10 วัจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) ได้แก่ คำพูด คำอธิบาย หนังสือ เอกสาร แผ่นปลิว แผ่นพับ ที่ใช้ตัวอักษร ตัวเลข แทนความหมายของสิ่งต่าง ๆ นับเป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด
สรุป
            สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ หรือสิ่งองต่างๆ ที่ช่วยในการประกอบการเรียนการ แล้วทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธ์ภาพ และบรรลุตามจุดประสงค์ที่วางไว้

เอกสารอ้างอิง
http://reg.ksu.ac.th
(เข้าถึงเมื่อวันที่ 17/07/11)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น