1.ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20
1.1 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)
ศน.หลักสูตรและการสอน เมื่อวันที่ : พุธ ที่ 9 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2551 (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) ได้กล่าวว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
ณัชชากัญญ์ (http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan_parn) ได้กล่าวว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
ทิศนา แขมมณี (2550 : 45 - 50) (http://surinx.blogspot.com/ ) ได้กล่าวว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ (Bigge,1964 : 19 – 30 อ้างถึงในทิศนา แขมมณี 2550 : 45 – 48)
กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1. มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
2. มนุษย์พร้อที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
3. สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
4. การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
5. การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น
กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1. มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
2. มนุษย์พร้อที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
3. สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
4. การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
5. การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น
สรุป
จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก จิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น การที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือจดจำสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่งในเวลาเดียวกันผู้เรียนต้องมั่นฝึกฝนเป็นประจำ และจะต้องมีการกระตุ้นและมีการเสริมแรงในทางบวกใหแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่และอย่างมีประสิทธิภาพ
เอกสารอ้างอิง
ศน.หลักสูตรและการสอน เมื่อวันที่ : พุธ ที่ 9 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2551 (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) (เข้าถึงเมื่อ21/06/11)
ณัชชากัญญ์ http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan_parn (เข้าถึงเมื่อ21/06/11)
ทิศนา แขมมณี (2550 : 45 - 50) (http://surinx.blogspot.com/ ) (เข้าถึงเมื่อ21/06/11)
เอกสารอ้างอิง
ศน.หลักสูตรและการสอน เมื่อวันที่ : พุธ ที่ 9 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2551 (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) (เข้าถึงเมื่อ21/06/11)
ณัชชากัญญ์ http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan_parn (เข้าถึงเมื่อ21/06/11)
ทิศนา แขมมณี (2550 : 45 - 50) (http://surinx.blogspot.com/ ) (เข้าถึงเมื่อ21/06/11)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น