วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) และ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)

2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)
ศน.หลักสูตรและการสอน   เมื่อวันที่ : พุธ ที่ 9 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2551 (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7)  ได้กล่าวว่า ธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ พฤติกรรมมากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบ
ณัชชากัญญ์ (http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan_parn) ได้กล่าวว่า ธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี – ไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ  พฤติกรรม มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่นี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ
  -   ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism)   ของธอร์นไดค์(Thorndike)มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด 
-   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)   ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี  ดังนี้  1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)   เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน(Watson’s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน  3)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning)  เน้นหลักการจูงใจ    4)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning)  เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล 
-   ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hull’s Systematic Behavior Theory)  มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง  การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย 
ทิศนา แขมมณี (2550 : 45 - 50) (http://surinx.blogspot.com/ ) ได้กล่าวว่า ธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลว (neutral - passive) การกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus - response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดได้และทดสอบได้
สรุป
            ธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลว (neutral - passive) การกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus - response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดได้และทดสอบได้
            2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)
ศน.หลักสูตรและการสอน   เมื่อวันที่ : พุธ ที่ 9 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2551 (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7)  ได้กล่าวว่า กระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
ณัชชากัญญ์ (http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan_parn) ได้กล่าวว่า กระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ  
-   ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย 
-   ทฤษฎีสนาม(Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ 
-   ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory)  ของทอลแมน(Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง 
-   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  
 -   ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
ทิศนา แขมมณี (2550 : 45 - 50) (http://surinx.blogspot.com/ ) ได้กล่าวว่า กระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจาการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
สรุป
            กระบวนการทางปัญญาหรือความคิดนั้นเป็นกระบวนการภายในของสมอง การเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงอย่างเดียว  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการอ่านหรือการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการนำข้อมูลออกมาใช้ในการการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเอง

เอกสารอ้างอิง
 ศน.หลักสูตรและการสอน   เมื่อวันที่ : พุธ ที่ 9 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2551 (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) 
(เข้าถึงเมื่อ21/06/11)

ณัชชากัญญ์ http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan_parn     (เข้าถึงเมื่อ21/06/11)

ทิศนา แขมมณี (2550 : 45 - 50) (http://surinx.blogspot.com/ (เข้าถึงเมื่อ21/06/11)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น